วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

การหาฤกษ์งาม-ยามดี

การหาฤกษ์งาม-ยามดี


          ฤกษ์ คือ เวลาที่มีอิทธิพลในชีวิตประจำวันของคนเรา โดยเฉพาะเวลาในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ อาจจะเกิดปัญหา ข้อขัดข้องต่าง ๆ หากไม่คำนึงถึง ฤกษ์ยาม นอกจากฤกษ์จะ ทำให้เชื่อว่าสามารถทำให้คนเราอยู่ดีกินดีีแล้ว ยังส่งผลในทางสังคมอีกด้วย เช่น หากเมื่อหาฤกษ์ยาม (วันและเวลา) ที่แน่นอนไว้แล้ว ย่อมทำการนัดหมายกับญาติพี่น้องได้ และญาติพี่น้องย่อมต้องมาตามฤกษ์ที่นัดหมายไว้

ดังนั้น ผู้ที่จะประกอบพิธีกรรมที่เป็นมงคลต่าง ๆ เช่น การแต่งงาน การสร้างบ้าน การบวช การโกนผมไฟ หรือการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งควรจะต้องมีการเรียนรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม และปรัชญา-แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับฤกษ์ยามที่จะประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ด้วย

ใน ห้วงจักรวาลอันกว้างไกล อันประกอบด้วย อวกาศหรือผืนฟ้าที่อยู่เบื้องบน และแผ่นดินที่อยู่เบื้องล่าง โดยหลังจากที่มีการวิวัฒนาการตั้งแต่สัตว์ชั้นต่ำจนกระทั่งกลายเป็นคน และได้มีการพัฒนาความเชื่อในสังคมเกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอก กาย (ที่ไม่สามารถหาคำอธิบายได้) เพื่อช่วยในการป้องกันภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น ฝนแล้ว น้ำท่วม ฟ้าผ่า ไฟไหม้ ฯลฯ โดยที่คนได้ทำการท่องจำ จดในทุก ๆ วัน และทุก ๆ คืน เกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งดีและร้ายที่เกิดขึ้นกับผู้คน แล้วได้ขยายผลกระทบไปสู่วงกว้าง พร้อมทั้งได้สร้างเป็นสถิติไว้

คน ผู้ที่ได้ทำการจดบันทึกสถิติต่าง ๆ ไว้ ต่อมาได้กลายเป็นนักสถิติ นักโหราศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ พวกเขาได้ทำการแบ่งช่วงเวลาที่มาเยือนโลกนี้เป็นประจำ โดยแบ่งออกเป็น เสี้ยววินาที วินาที นาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน และปี โดยในช่วงของแต่ละปีได้ทำการแบ่งออกเป็นฤดูกาล (ในประเทศไทยแบ่งเป็น ฤดูหนาว (เหมันตฤดู) ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู) ฤดูฝน (วสันตฤดู)) รวมทั้ง คนเหล่านั้นได้บันทึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของฤดูเข้าสู่ฤดู และถึงแม้มันเป็นไปเองตามกฎของธรรมชาติ แต่ส่งผลและมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ แต่สิ่งที่มนุษย์ได้กระทำทั้งความดีและความเลวร้าย และได้ตั้งเป็นกฎเกณฑ์ให้คนรุ่นหลังได้ทำการศึกษาและถือเ็ป็นกฎเกณฑ์ และขนบธรรมเนียมประเพณีในการปฏิบัติ ซึ่งเรียกว่า "ฤกษ์" หรือ "ยาม" โดยแบ่งออกเป็นชื่อต่าง ๆ กัน ตามลักษณะบ่งบอกถึงความดีและความร้าย ซึ่งอนุชนรุ่นหลังจะได้เรียนรู้ และนำไปปฏิบัติตามความเหมาะสมของเหตุและผลต่อไป

ในการ ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ นั้น จะมีส่วนประกอบใหญ่ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ฤกษ์ และ ยามกับพิธีกรรม ซึ่งเมื่อเราได้ฤกษ์-ยามที่ดีแล้ว เราจะต้องทำพิธีกรรมให้ถูกต้อง จึงจะผลสมบูรณ์

ประเภทของฤกษ์ยามมีดังนี้

วันจมวันฟ
วันจม คือ วันและเวลาที่ไม่ควรประกอบงานมงคลต่าง ๆ เพราะจะนำไปสู่ความหายนะ ความล่มจม และความวิบัติฉิบหาย 
วันฟู คือ วันและเวลาที่เจริญ วันเฟื่องฟู่ และเป็นวันที่นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ควรแก่การกระทำงานมงคลทุกอย่างที่พึงกระทำ

วันจมวันฟูนั้น ให้ยึดถือเดือนกับวันเป็นหลักในการศึกษา ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น